11 ยาต้อง "ห้ามนำเข้าญี่ปุ่น" อย่างเด็ดขาด!!
24/05/23 19:02:42
8197
ใครที่จะไปเที่ยว #ญี่ปุ่น นอกจากจะต้องศึกษาข้อมูล กฎระเบียบ เอกสารสำคัญต่างๆ และสิ่งของที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นแล้ว คนที่มีโรคประจำตัว ต้องพกยา ก็ต้องระวัง และเช็กให้ดี
ซึ่งยาที่ผิดกฎหมาย และห้ามนำเข้านั้นเป็นยาที่ใช้บำบัด บรรเทารักษาอาการเจ็บป่วยใน 2 กลุ่มอาการ คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มยาบรรเทาอาการหวัด ได้แก่
• TYLENOL COLD
• NYQUIL
• NYQUIL LIQUICAPS
• ACTIFED
• SUDAFED
• ADVIL COLD & SINUS
• DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
• DRISTAN SINUS
• DRIXORAL SINUS
• VICKS INHALER
โดยยาข้างต้นเป็นยาที่มี "สารซูโดอีเฟดรีน" (Pseudoephedrine) เป็นสารสำคัญ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด โดยทั่วไปยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมมีการใช้ในประเทศไทย ภายใต้การควบคุมกำกับในโรงพยาบาล มักใช้แก้หวัด แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ คัดจมูก แพ้อากาศ ลดน้ำมูก และบรรเทาอาการปวดหูที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ เช่น ขณะนั่งเครื่องบิน ลดระดับเพดานบิน เป็นต้น
----
กลุ่มที่ 2 กลุ่มยารักษาอาการท่องเสีย ได้แก่ LOMOTIL
โดยประเทศไทยเพิ่งยกเลิกการขึ้นทะเบียนยาดังกล่าว เนื่องจากมีสารไดเฟรอกไซเลต (diphenoxylate) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจัดเป็นสารเสพติด
(Tylenol Cold) (Nyquil) (Nyquil Liquicaps) (Actifed) (Sudafed) (Advil Cold & Sinus) (Dristan Cold) (Dristan Sinus) (Drixoral Sinus) (Vicks Inhaler) (Lommotil) อย่างไรก็ตาม การพกยาเข้าประเทศญี่ปุ่น มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ยารักษาที่มีใบสั่งแพทย์ ต้องนำใบสั่งแพทย์นั้นติดตัวไปด้วย
2. ยาต้องอยู่ในแผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงรายละเอียดของยาแก่เจ้าหน้าที่
3. จำนวนของยาจำเป็นที่ติดตัวได้ ต้องใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน
4. กลุ่มยาต้องห้าม ที่เป็นกลุ่มเดียวกับยาเสพติด (มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หรือ ยาแก้ปวดชนิดรุนแรง) เช่น โคเดอีน (Codeine) มอร์ฟีน เมทาโดน อันเป็นยาที่แพทย์จ่ายภายใต้การควบคุมอยู่ ต้องขออนุญาตนำออกจากประเทศไทยและทั้งมีใบสั่งแพทย์ถูกต้อง
5. ยากลุ่มยานอนหลับเช่น Diazepam, Lorazepam และกลุ่มยารักษาโรคเครียด เช่น Fluoxetine เป็นกลุ่มยาที่ควรระวังในการพกพา
ในแต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษารายละเอียด ข้อห้าม และข้อจำกัดของแต่ละประเทศให้เข้าใจก่อนออกเดินทางนะคะ